พนักงานของศรีตรัง
ความหลากหลายของสัญชาติ
สัญชาติ | ร้อยละของสัดส่วนจากพนักงานทั้งหมด | ร้อยละของสัดส่วนจากตำแหน่ง Management ทั้งหมด |
---|---|---|
ไทย | 70.4 | 13.1 |
อินโดนีเซีย | 16.1 | 0.9 |
พม่า | 12.1 | 0.1 |
คณะกรรมการสวัสดิการ
แม้ว่าปัจจุบันบริษัทฯ ยังไม่มีการจัดตั้งสหภาพแรงงาน แต่บริษัทฯ ก็ไม่ได้ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น หรือความต้องการของพนักงาน บริษัทฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ ซึ่งมีฐานะเป็นกลไกอิสระ เพื่อเป็นการส่งเสริมและเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีการหารือกับบริษัทฯ มีหน้าที่บริหารจัดการข้อกังวลของพนักงานที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการของพนักงานด้านต่างๆ รวมถึงสภาพแวดล้อมในการทำงาน
พนักงานทุกคนมีสิทธิเสนอชื่อและเป็นผู้แทนในคณะกรรมการสวัสดิการ โดยการคัดเลือกคณะกรรมการสวัสดิการของบริษัทฯ มาจากวิธีการเลือกตั้ง ปัจจุบันมีคณะกรรมการสวัสดิการของทุกบริษัทรวมทั้งสิ้น 174 คน และมีวาระดำรงตำแหน่ง 2 ปี โดยประธานคณะกรรมการสวัสดิการจะมีการจัดประชุมภายในคณะกรรมการเอง และประชุมร่วมกับผู้บริหารของบริษัทฯ ทุกไตรมาส ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เพื่อหารือปัญหาหรือให้ข้อเสนอแนะในการจัดสวัสดิการของพนักงาน และกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ พัฒนาสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของพนักงาน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าพนักงานทุกคนจะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม
การพัฒนาพนักงาน
โครงการอบรมหลักสูตร “ทักษะการจัดการยุค Digital”
เป็นหลักสูตรอบรมที่เน้นทักษะทางด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสังคมดิจิตอล ทักษะสำคัญแห่งโลกอนาคตและการเตรียมข้อมูลการนำเสนอ ทักษะการทำงานในสังคมดิจิตอล การวิเคราะห์ การจัดการทางอารมณ์ และความเข้าใจทางเทคโนโลยี ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรเพื่อให้เท่าทันกับสถานการณ์ พร้อมรับมือกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ปรับตัวและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง
เป้าหมายและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
เพื่อให้พนักงานระดับหัวหน้างาน (ระดับ L4-L5) มีทักษะการทำงานเข้าสู่สังคมดิจิทัล เช่น ด้านการคิดวิเคราะห์ การบริหารจัดการอารมณ์ และความเข้าใจเรื่องเทคโนโลยีในอนาคต เป็นต้น และมีความพร้อมสำหรับการสืบทอดตำแหน่งงานสำคัญๆ ในบริษัท
ผลประโยชน์เชิงตัวเลขที่บริษัทฯ จะได้รับ
พนักงานที่ผ่านการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 30% อ้างอิงตามรายงานสรุปผลการทดสอบก่อนและหลังเข้าร่วมอบรม
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
50 คน หรือคิดเป็น 6.35% จากจำนวนพนักงานระดับ L4-L5
โครงการอบรมหลักสูตร “การสร้างสรรค์เนื้อหาออนไลน์”
หลักสูตรการสร้างสรรค์เนื้อหาออนไลน์ครอบคลุมถึงความเข้าใจในสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะ เฟซบุ๊ก ไลน์ ยูทูบ ทวิตเตอร์ และเว็บไซต์ และการใช้ผู้นำความคิดในการเผยแพร่เนื้อหาในโลกออนไลน์ เทคนิคการเล่าเรื่อง กลยุทธ์การสร้างสรรค์ที่ใช้ในการสื่อสารผ่านภาพ (Visual) และคำ (Copywriting) ศิลปะของการใช้คำ การใช้อิโมติคอน การออกแบบภาพปก การเขียนคำพาดหัวและชื่อเรื่อง และการใช้โปรแกรมเพื่อการสร้างสรรค์เนื้อหาออนไลน์สำหรับผู้ที่ไม่ใช่นักออกแบบกราฟิก
เป้าหมายและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวาดหรือถ่ายภาพประกอบเนื้อหาออนไลน์ได้
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเขียนเนื้อหาที่เหมาะสมกับสื่อออนไลน์ได้
ผลประโยชน์เชิงตัวเลขที่บริษัทฯ จะได้รับ
พนักงานสามารถผลิตสื่อวิดีโอการเรียนรู้ Knowledge management เพื่อใช้ภายในองค์กร จำนวน 38 ชิ้นงาน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
40 คน หรือคิดเป็น 3.91% จากจำนวนพนักงานระดับ L4-L7
โครงการเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
โครงการด้านสุขภาพ – BMI Challenge Program
กลุ่มบริษัทศรีตรัง มีการดำเนินการจัดทำโครงการด้านสุขภาพ ภายใต้ชื่อ “BMI Challenge Program” และมีการขยายผลครอบคลุมทุกสาขาของบริษัท โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อสุขภาพที่ดีและสร้างนิสัยในการออกกำลังกายให้กับพนักงานในกลุ่มศรีตรัง รวมถึงสร้างความสัมพันธ์และมิตรภาพอันดีให้กับพนักงานและภาพพจน์ที่ดีต่อของกลุ่มบริษัท ซึ่งแต่ละสาขาสามารถกำหนดจัดขึ้นตามแผนของแต่ละสาขาตามความเหมาะสม
ขั้นตอนการดำเนินโครงการดังนี้
- จดบันทึกค่า BMI (Body Mass Index) เบื้องต้นของพนักงานทุกท่านก่อนเริ่มโครงการ
- จัดการอบรม ให้ความรู้แก่พนักงานในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องทางด้านสุขภาพ เช่น วิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง การดูแลโภชนาการในการทานอาหาร หรือวิธีการทำงานที่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์
- จัดให้มี Morning Exercise ทุกเช้าก่อนเริ่มทำงาน
- กำหนดระยะเวลาของโครงการประมาณ 3-6 เดือน ตามความเหมาะสม เพื่อให้พนักงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- เมื่อครบกำหนดโครงการจะทำการบันทึกค่า BMI ของพนักงานทุกท่านอีกครั้ง และคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์ค่าBMI ที่ลดได้ และให้รางวัลแก่พนักงานตามหลักเกณฑ์ที่แต่ะละสาขากำหนดขึ้น
โครงการมุมนมแม่เพื่อลูกน้อย
กลุ่มบริษัทศรีตรัง ดำเนินการจัดตั้ง โครงการ “มุมนมแม่เพื่อลูกน้อย” โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 เป็นต้นมา และขยายผลครอบคลุมทุกสาขา โดยมีวัตุประสงค์ของโครงการ ดังนี้
- เพื่อให้พนักงานหลังคลอดได้มีที่เก็บน้ำนมแม่ที่ถูกสุขลักษณะ
- เพื่อให้คุณแม่ได้มีจุดพักปั๊มน้ำนมที่สะดวกและสะอาด
- เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานให้กับพนักงาน
การสำรวจความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน
ผลการดำเนินงาน | หน่วย | 2563 | 2564 | 2565 | เป้าหมายปี 2565 |
---|---|---|---|---|---|
ระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน | % | 78 | 87 | 88 | 85 |
สัดส่วนของพนักงานที่ตอบการประเมินฯ | % | 10 | 80 | 87 |