โรคราเส้นดำ
เดียวกัน โดยเฉพาะในช่วงเปิดกรีดเช่นนี้เชื่อว่าคงมีแต่เสียงบ่นอุบอิบอ้อนวอนให้หยุดตก เพราะนอกจากจะเสียของแล้วยังพาโรคมาเป็นของฝากอีกด้วย ซึ่งหนึ่งในโรคฮิตที่มักมาพร้อมกับฝนคงหนีไม่พ้น “โรคราเส้นดำ”
ความร้ายกาจของโรคนี้คือมันจะเข้าไปทำลายหน้ากรีดจนเน่าทำให้ต้องหยุดกรีดจนกว่าแผลที่หน้ายางจะหายดี และเมื่อเปลือกใหม่งอกขึ้นมาก็ไม่สามารถกรีดซ้ำบนหน้ากรีดเดิมได้ ซึ่งเชื้อรานี้จะเข้าทำลายเฉพาะบริเวณเปลือกยางที่มีบาดแผลเท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะเข้าทำลายทางรอยกรีดใหม่ที่กรีดไปแล้วไม่เกิน 24 ชั่วโมง ฉะนั้นการกรีดยางให้ดีและถูกต้องเสมอก็จะช่วยให้ต้นยางมีแนวโน้มที่จะรอดจากโรคนี้ได้ด้วย
ลักษณะอาการ
- ระยะแรก : หลังจากที่เชื้อราเข้าทำลายแล้ว จะเห็นบริเวณที่เป็นโรคมีสีผิดปกติเป็นรอยช้ำ ส่วนมากมักจะเกิดขึ้นเหนือรอยกรีด
- ระยะรุนแรง : เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นบริเวณที่เป็นรอยช้ำนี้จะเปลี่ยนเป็นรอยบุ๋มสีดำ และจะขยายตัวยาวขึ้นไปในแนวดิ่ง คือสูงขึ้นไปส่วนบนเหนือรอยกรีดและลงใต้รอยกรีดอย่างรวดเร็ว ระยะนี้จะสังเกตเห็นอาการของโรคได้ชัดเจน เนื่องจากเยื่อเจริญส่วนนั้นตายหมด เมื่อเฉือนเปลือกออกดูจะพบรอยบุ๋มสีดำนั้นมีลายเส้นสีดำบนเนื้อไม้บริเวณแผล ซึ่งมักเป็นรอยยาวตามแนวยืนของลำต้น
- ระยะรุนแรงมาก : จะทำให้เปลือกของหน้ายางบริเวณที่เป็นโรค มีอาการปริ มีน้ำยางไหลออกมา ตลอดเวลา และเปลือกบริเวณที่เป็นโรคนี้จะเน่าหลุดออกทั้งหมดในที่สุด
การป้องกันโรค
- ควรหลีกเลี่ยงการเปิดกรีดต้นยางพาราในช่วงฤดูฝนชุก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีโรคระบาดรุนแรง
- ถ้าพบอาการที่หน้ากรีด ต้องเฉือนส่วนที่เป็นโรคออกก่อนแล้วทาด้วยยารักษาโรค ทั้งนี้อาจใช้เป็นสารเคมีกำจัดเชื้อรา หรือใช้ชีวภัณฑ์กำจัดเชื้อราก็ได้
- ตัดแต่งกิ่งยางและปราบวัชพืชในสวนยางให้สวนยางโปร่ง มีอากาศถ่ายเทสะดวกเพื่อให้หน้ายางแห้งเร็วขึ้น และเป็นการลดความรุนแรงของโรคได้
- ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพ่นหรือทาหน้ากรีดยางทุก 7 วัน
- หากมีโอกาสปลูกยางใหม่ควรเลือกพันธุ์ที่ต้านทานโรค คือ พันธุ์ 251 พันธุ์สงขลา 36 , บีพีเอ็ม 24, พีอาร์ 255 เป็นต้น